โรคอัมพาต คือ แขน และ/หรือ ขา ขยับเขยื้อนไม่ได้ ไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้ ส่วนโรคอัมพฤกษ์หรืออาการอัมพฤกษ์ หมายถึงแขน และ/หรือ ขา อ่อนแรงกว่าเดิม ยังพอใช้งานได้ แต่ใช้ได้น้อยกว่าปกติ เช่น อาจชา
หยิบจับของหนัก หรือ หยิบจับดินสอเพื่อเขียนหนังสือตามปกติไม่ได้ ดังนั้น อัมพฤกษ์
จึงมีความรุนแรงน้อยกว่าอัมพาต
โรคอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์ ที่จริงแล้วเป็นอาการของโรคหลอดเลือดในสมอง ที่ส่งผลให้สมองขาดเลือด จึงเกิดอาการแขนขาใช้งานไม่ได้ หรือ อ่อนแรง
โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ (Stroke) เรียกว่า โรคซีวีเอ (CVA, Cerebro
Vascular Accident) คือ อาการผิดปกติที่เกิดจากสมองขาดเลือดเกิดขึ้นนานเกิน 24 ชั่วโมง แต่เมื่ออาการที่ผิด ปกติสามารถหายกลับเป็นปกติได้ภายใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า
เป็นอาการอัมพาต หรือ อัมพฤกษ์ชั่วคราว หรือ คือ โรค/อาการ ทีไอเอ (TIA,
Transient Ischemic Attack)
นอกจากใช้คำว่า Stroke แล้ว
เพื่อให้สอดคล้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ซึ่งเป็นโรคเกิดจากการขาดเลือดเช่นกัน บางท่านจึงเรียกโรค/อาการนี้ว่า โรค/อาการ Brain Attack
โรคอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์ เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่ง ในประเทศที่เจริญแล้ว
โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจ
เป็นโรคพบได้บ่อยในอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (95%ของผู้ป่วยทั้งหมด) โดยประมาณสองในสามของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี ทั้งนี้ พบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า
โรคอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์เกิดจากอะไร?
โรคอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์ มีสาเหตุเกิดจาก สมองขาดเลือดทันทีภายในระยะ เวลาเป็นนาทีหรือ ชั่วโมง ไม่ใช่ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งเกิดได้จาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ หลอดเลือดแดงสมองอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยกว่า และหลอดเลือดแดงสมองแตก
โรคหลอดเลือดแดงสมองอุดตัน
เช่น จากหลอดเลือดแดงสมองตีบตันจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ซึ่งมีสาเหตุจากโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่
หรือมีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดแดงสมอง หรือ ลิ่มเลือดจากหลอดเลือดดำขา หรือ
ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว เอเอฟ (AF, Atrial Fibrillation) หลุดลอยเข้ากระแสโลหิตและอุดตันหลอดเลือดสมอง
หลอดเลือดแดงสมองแตก ที่พบได้บ่อย คือ
ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และในโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
อัมพฤกษ์
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต
อัมพฤกษ์ของคนไทยกลุ่มศึกษา ได้แก่
1. อายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
2. เพศ ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่าผู้หญิง
3. อาชีพ คนว่างงาน หรือทำงานบ้าน โอกาสเกิดสูงกว่า
4. ถิ่นที่พักอาศัย คนกรุงเทพฯเกิดโรคสูงกว่าคนภาคอื่นๆ
5. โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
โรคอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์มีอาการอย่างไร?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น